ชื่อ : มะขามยักษ์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica L.
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ชื่อสามัญ : Indian date, Tamarind
ชื่ออื่นๆ : ตะลูบ ม่องโคล้ง มอดเล ส่ามอเกล หมากแกง อำเปียล
ชนิด/ประเภท | ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. กิ่งอ่อนมีขนสั้นนุ่ม เปลือกแตกเป็นร่องตื้น สีน้ำตาลอมดำ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ เรียงสลับ มีใบย่อย 10-18 คู่ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานไม่สมมาตร ปลายมน เป็นติ่งแหลม โคนเบี้ยว ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยงทั้ง 2 ด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น ออกตามปลายกิ่ง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-15 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเหลืองอ่อน รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กลีบดอก 3 กลีบ สีเหลืองอ่อนอมส้ม มีเส้นสีแดง รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้ 3 เกสร รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนสั้นนุ่ม ผลแบบผลแห้งไม่แตก เป็นฝัก แบนข้าง รูปขอบขนาน มักโค้งขึ้น ยาว 5-15 ซม. สีน้ำตาล คอดเล็กน้อยระหว่างเมล็ด มีเมล็ด 3-12 เมล็ด แบนข้าง สีน้ำตาลเข้มอมดำ เป็นมัน |
การกระจายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในเกาะมาดากัสการ์ นำเข้ามาปลูกในเขตร้อน
การเพาะปลูก :
การเจริญเติบโต : ออกดอกเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ผลแก่เดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์
ประโยชน์ : ใบอ่อนและผลอ่อนมีรสเปรี้ยว ผลสุกเนื้อมีรสเปรี้ยว นำมาประกอบอาหาร ผลสุกเนื้อมีรสหวาน รับประทานได้