พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

ขี้เหล็ก ชื่อสามัญ : Cassod tree, Thai copper pod

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : ขี้เหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H. S. Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์ : Fabaceae

ชื่อสามัญ : Cassod tree, Thai copper pod

ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กหลวง ผักจี้ลี้ แมะขี้เหละพะโดะ ยะหา

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 7-15 ม. กิ่งอ่อนมีขน เปลือกสีเทาอมน้ำตาลอ่อน ใบประกอบแบบขนนกสั้นเดียวปลายคู่ เรียงเวียน มีใบย่อย 7-15 คู่ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปรี หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายกลมมนหรือเว้าตื้น มีติ่งแหลม โคนกลมมน ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ด้านบนสีเขียวเข้ม เกลี้ยง ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีขนสั้นนุ่ม ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อน รูปไข่กว้างหรือรูปค่อนข้างกลม ขนาดไม่เท่ากัน ด้านนอกมีขน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง รูปไข่กลับกว้าง โคนคอดคล้ายก้านสั้น เกสรเพศผู้ 10 เกสร ยาวไม่เท่ากัน เกสรยาว 2 เกสร ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 1 ซม. อับเรณูมีช่องเปิดที่ปลาย เกสรสั้น 5 เกสร ก้านชูอับเรณูยาว 2-4 มม. อับเรณูมีช่องเปิดที่ปลาย และเกสรลดรูป 3 เกสร ก้านชูอับเรณูยาว 2-4 มม. รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีขนสั้นนุ่ม ผลแบบผลแห้งแตกสองแนว เป็นฝักแบน รูปแถบ ยาว 20-30 ซม. สีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล เป็นคลื่นตามยาว ขอบมีรอยเชื่อมเป็นสันนูน มีเมล็ดจำนวนมาก แบน รูปไข่กว้าง สีน้ำตาล เป็นมัน

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ศรีลังกา เมียนมา และภูมิภาคอินโดจีน



การเพาะปลูก :



การเจริญเติบโต : พบตามป่าหลายชนิด มักพบตามป่าเบญจพรรณ ที่สูงใกล้ระดับทะเลปานกลางถึง 400 ม. ออกดอกและเป็นผลเดือนเกือบตลอดปี



ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบอ่อนและดอกอ่อนนำมาประกอบอาหาร