ชื่อโครงการ |
โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ต.โป่งน้ำร้อน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ |
ที่อยู่ |
เลขที่ 265 หมู่ 6 บ้านเปียงกอก ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ 50110 |
โทรศัพท์ |
053-452366, 088-2631309 |
กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินแด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในรูปแบบของการสนับสนุนสิ่งของ สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักรกล บุคลากร พันธุ์พืช และปัจจัยการผลิตอื่นๆ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา-สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 80 พรรษา ในปี 2550 และสร้างศูนย์ความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตรระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนทางภาคเหนือของประเทศไทย
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา-สาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2551 บนที่ดินราชพัสดุ แปลงที่ ชม.363 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นพื้นที่โดยประมาณ 578 ไร่ 3 งาน 33 ตารางวา ต่อมาในปี 2556 ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการปรับโครงสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา-สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงกิจกรรมที่ได้รับมอบจากสาธารณรัฐประชาชนจีนให้อยู่ภายใต้การดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนาโดยได้ดำเนินการผลิตพืชในระบบชีวภาพ เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการส่วนร่วมจากภาคประชาชนในพื้นที่ตลอดจนพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตรของโครงการในรูปแบบต่างๆ เพื่อการจำหน่าย
พระราชดำริ / พระราชดำรัส
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินงาน โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย
วัตถุประสงค์โครงการ
เป้าหมายโครงการ
โครงการได้วางแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพภูมิสังคมของที่ตั้งโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำ ด้วยการศึกษา ทดลอง และพัฒนาความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณและระบบการจัดการเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร ตั้งแต่การผลิตปัจจัยการผลิตต่างๆ สำหรับใช้เองภายในโครงการเพื่อทดแทนการใช้สารเคมี โดยเน้นการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่โครงการกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายใต้แนวความคิดเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยั่งยืน จนได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ (Organic Thailand) จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สร้างมาตรฐานและความน่าเชื่อถือให้แก่ผลผลิตทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่โครงการและรับรองความปลอดภัยของผลผลิตให้แก่ผู้บริโภคภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ทรัพย์-ปัน” ชื่อและตราสัญลักษณ์พระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กิจกรรมต่างๆ ของโครงการ ประกอบด้วยกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมกับชุมชนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการผลิตและอนุรักษ์พันธุ์พืชกิจกรรมทดสอบและพัฒนาศักยภาพการผลิตพืชผักอินทรีย์กิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเห็ดแบบครบวงจรกิจกรรมทดสอบและพัฒนาศักยภาพการผลิตข้าวและพืชหลังนาและกิจกรรมอำนวยการกลาง