พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

หางไหลขาว

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

สมุนไพรหางไหลขาว มีชื่อเรียกอื่นว่า ยานาเละ (มลายู-นราธิวาส)

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท หางไหลขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris malaccensis Prain (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Derris cuneifolia var. malaccensis Benth.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยถั่ว FABOIDEAE (PAPILIONOIDEAE หรือ PAPILIONACEAE)
ต้น ต้นหางไหลขาว จัดเป็นไม้เถาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด พบขึ้นตามริมน้ำลำธาร ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร ป่าดงดิบเขา และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป
ใบ ใบหางไหลขาว ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบกว้างแหลม โคนใบสอบแคบ ใบอ่อนเป็นสีเหลืองอ่อนออกเขียว ส่วนใบแก่เป็นสีเขียว
ดอก ดอกหางไหลขาว ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กสีชมพู
ผล ผลหางไหลขาว ผลมีลักษณะเป็นรูปฝักแบนไม่ยาวมากนัก มียาวสีขาวข้น

ข้อมูลอื่นๆ

สรรพคุณของหางไหลขาว

- รากมีรสเอียนเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายเส้นเอ็น ทำให้เส้นอ่อน (ราก)

- รากมีสรรพคุณเป็นยาถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต (ราก)

- ใช้ปรุงเป็นยาขับระดู แก้ระดูเป็นลิ่มหรือเป็นก้อนเน่าเหม็นของสตรี (ราก)



ประโยชน์ของหางไหลขาว

- รากใช้เป็นยาฆ่าแมลงตัวหนอนที่เกาะกินผัก ด้วยการนำรากมาทุบ ๆ ผสมกับน้ำ พอให้ขุ่นขาว แล้วนำมารดพืชผักในสวนผัก จะช่วยฆ่าแมลงและตัวหนอนได้ และใช้เป็นยาเบื่อปลาได้อีกด้วย

- รากใช้ผสมกับสบู่และน้ำสำหรับใช้ฆ่าสัตว์ เช่น หิดและเหาได้เป็นอย่างดี