ชื่อ : คะน้าเห็ดหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L.
ชื่อวงศ์ : Brassicaceae
ชื่อสามัญ : Chinese Kale
ราก | ราก ประกอบด้วยรากแก้วขนาดใหญ่ต่อจากลาต้น มีสีขาวออกน้าตาลเล็กน้อย หยั่งลึกประมาณ 10-30 ซม. ตามสภาพลักษณะหน้าดิน และรากฝอยสีน้าตาลอ่อนซึ่งพบไม่มาก |
ต้น | ลำต้น มีลักษณะตั้งตรง สูง 20-30 ซม. ลำต้นมีลักษณะแข็งแรง อวบใหญ่ มีสีเขียวนวล นิยมนานมาบริโภคมาก รองลงมาจากยอดอ่อน |
ใบ | ใบ มีลักษณะใบของคะน้ามีหลายลักษณะตามสายพันธุ์ที่ปลูก การแตกของใบจะแตกออกจากลาต้นเรียงสลับกัน 4-6 ใบ ผิวใบมีลักษณะเป็นคลื่น ผิวเป็นมัน สีเขียวอ่อนถึงเขียวแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนามาบริโภครองลงมาจากส่วนยอด ยอด และดอก บริเวณที่ถัดจากใบสุดท้ายที่เติบโตแยกออกมาอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะเป็นส่วนของยอดที่มีลักษณะเป็นใบอ่อนขนาดเล็ก 2-3 ใบ มีลักษณะคล้ายบัวตุ่ม ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน รอที่จะเติบโตเป็นใบแก่ ถือเป็นส่วนที่นิยมนำมาบริโภคมากที่สุด |
ดอก | ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด มีลักษณะช่อดอกแบบซี่ร่ม รองรับช่อดอกเล็กๆ ไว้ ดอกจะมีสีขาว |
เมล็ด | เมล็ด มีลักษณะกลมๆ มีขนาดเล็กๆ มีสีดำ |
การกระจายพันธุ์ : คะน้าเห็ดหอมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย และนิยมปลูกกันมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไปๆ ในประเทศไทย เป็นพืชที่มีมาแต่โบราณ มีประโยชน์สรรพคุณทางยา ใช้นำมารักษาโรคต่างๆ ได้หลายอย่าง คะน้าจะมีกลิ่นเฉพาะตัว มีรสชาติหวานและกรอบ สามารถนำมาประกอบ ปรุงอาหารเมนูต่างๆ ได้มากมายหลากหลายเมนู
การเพาะปลูก : การเพาะกล้า แปลงเพาะกล้าควรมีขนาดกว้าง 1 เมตร ส่วนความยาวตามความเหมาะสม ในการเตรียมดินแปลงเพาะกล้า ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว
การปลูก การเตรียมดินบนแปลงปลูก ควรขุดไถพรวนดินอย่างดี ตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน ย่อยหน้าดิน ให้ละเอียด แล้วใส่ปุ๋ยคอก คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม การปลูกคะน้า นิยมปลูก 2 แบบ คือ แบบหว่านกระจายทั่วแปลง เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดใหญ่ ทำเป็นการค้า และแบบแถวเดี่ยว เหมาะสำหรับแปลงปลูกขนาดเล็กหรือผักสวนครัว หลังหว่านเมล็ด ประมาณ 7-10 วัน เมล็ดก็จะงอก ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ให้ทำการถอนต้นเล็กๆ ที่มันเบียดกันออกไป แล้วจึงทำการย้ายต้นกล้า
ลงปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ระยะห่างกันประมาณ 20 x20 ซม. หรือนำเมล็ดหยอดลงในหลุม หลุมละ 3-4 เมล็ด กลบเมล็ดด้วยดิน บางๆ คลุมด้วยฟางบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม
การเจริญเติบโต : สามารถเจริญเติบโตได้ตลอดทั้งปี และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพอากาศ ดินควรมีค่า pH ระหว่าง 5.5-6.8
การดูแลรักษา ผักคะน้าเห็ดหอม จะงอกภายใน 7 วัน ควรดูแลต้นกล้า ถอนต้นที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง หรือเบียดกันแน่นทิ้งไป
การให้น้ำ : คะน้าเห็ดหอมเป็นพืชที่ชอบน้ำ ต้องระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้คะน้าโตได้เร็ว คะน้าต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นควรปลูกในแหล่งที่มีน้ำอย่างเพียงพอ
และควรรดให้ทั่วและให้ชุ่ม ในเวลาเช้าและเย็น
การใส่ปุ๋ย คะน้าต้องการปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง อาจใส่ปุ๋ยสูตร 12-8-8 หรือ 20-11-11 ในอัตราประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือ หลังจากถอนแยกครั้งแรกและหลังจากถอนแยกครั้งที่ 2
การเก็บเกี่ยวผลผลิต : เมื่อคะน้าเห็ดหอมมีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 45-55 วัน จะสามารถตัดได้ คะน้าเห็ดหอมเป็นผักมีอายุ 2 ปี แต่จะปลูกเป็นผักฤดูเดียวสามารถปลูกได้ตลอดปี การเก็บเกี่ยวให้ตัดตรงโคลนต้น ที่ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป แล้วตัดแต่งใบเสียทิ้งแล้วนำบรรจุใส่ภาชนะ
ประโยชน์ : วิตามินบีตา-แคโรทีน ช่วยลดมะเร็งกระเพาะอาหาร ช่วยลดมะเร็งลำไส้ ช่วยลดมะเร็งปอด ช่วยลดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีวิตามินซี ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยให้ภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง มีแคเชี่ยม ช่วยเสริมสร้างกระดูก ข้อควรระวัง คะน้ามีสารกอยโตรเจน (goitrogen) ถ้ารับประทานมากๆ จะทำให้ท้องอืดได้