พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

คะน้าฮ่องกง ชื่อสามัญ : Chinese Kale

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : คะน้าฮ่องกง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleracea L.

ชื่อวงศ์ : Brassicaceae

ชื่อสามัญ :  Chinese Kale

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ลำต้นและใบมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะเรียว ไม่กลม ลำต้นมีขนาดเล็กกว่าคะน้ายอด
ดอยคำ กรอบ ไม่เป็นเสี้ยน ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
ราก ราก มีระบบรากแก้ว มีลักษณะกลมเล็กๆ มีรากฝอยๆ จะมีสีน้ำตาล
ต้น ลำต้น มีลักษณะกลมๆ จะมีลำต้นเดี่ยว จะมีก้านใบยาว โดยรอบๆ อยู่ห่างๆบนต้นของคะน้า จะมีสีเขียวนวล
ใบ ใบ มีลักษณะมีใบกว้างใหญ่ จะมีสีเขียวนวล ก้านใบยาว ใบจะออกแข็งๆ
ดอก ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ก้านช่อดอกเป็นก้านโดด มีลักษณะช่อดอกแบบซี่ร่ม รองรับช่อดอกเล็กๆ ไว้ดอกจะมีสีขาว
เมล็ด เมล็ด มีลักษณะกลมๆ มีขนาดเล็กๆ มีสีดำ

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : ต้นกำเนิดจากประเทศจีน



การเพาะปลูก : การเตรียมกล้า มี 2 วิธี คือ เพาะเมล็ดในกระบะที่มีส่วนผสมระหว่างทราย : ขุยมะพร้าว : หน้าดิน อัตราส่วน 2 : 1 : 1 ต้นกล้ามีอายุประมาณ 5 วัน ย้ายลงถาดหลุมที่ใช้วัสดุเพาะและหยอดเมล็ดลงในถาดหลุมเพาะกล้าโดยตรง หลังจากต้นกล้ามีอายุประมาณ 18 – 21 วัน หรือมีใบจริงอย่างน้อย 2 – 3 ใบ จึงทำการย้ายปลูก



          การเตรียมดิน : ขุดดินลึก 10 - 15 ม. ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 – 14 วัน โรยปูนขาวหรือโดโลไมท์อัตรา

100 กรัม/ตร.ม. ขึ้นแปลงกว้าง 1 – 1.2 ม.หรือตามสภาพพื้นที่ ใส่ปุ๋ยรองพื้นปุ๋ยคอก (มูลไก่) หรือปุ๋ยหมักอัตรา 3 กก./ตร.ม. และหว่านปุ๋ย 15 – 15 – 15 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม. ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน



          การปลูก : ย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าอายุ 18 – 21 วัน ในกรณีที่ต้องการเก็บหน่อข้าง ฤดูร้อน (ไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส) 30 x 30 ซม. ฤดูฝนและหนาว 30 x 40 ซม. เก็บเกี่ยวครั้งเดียวควรใช้ระยะปลูก 25 x 25 ซม.



          การให้น้ำ : ให้น้ำแบบสปริงเกอร์



          การให้ปุ๋ย: ในระยะแรกจึงต้องการปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างสูงใส่ปุ๋ยครั้งแรก 7 วัน หลังปลูก ใส่ปุ๋ยสูตร

46 – 0 – 0 15 – 15 – 15 อัตรา 1 : 2 ผสมกัน ใช้อัตรา 120 กรัม/หรือ 21 – 0 – 0 อัตรา 120 กรัม/ตร.ม.

ใส่บริเวณโคนต้น ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 หลังปลูก 14 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46 – 0 – 0 ผสมตร.ม และใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 หลังย้ายปลูก

21 วัน ใช้ปุ๋ยสูตร 30 – 20 – 10 อัตรา 20 กรัม/20 ลิตร



          การเก็บเกี่ยว : เริ่มเก็บหลังจากย้ายปลูกประมาณ 45 – 50 วัน หรือช่อดอกตูม ทำการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมตัด แล้วทาปูนแดงบริเวณรอยตัด ตัดแต่งใบให้เหลือเฉพาะใบที่หุ้มส่วนของดอก 1 – 2 ใบ คัดผลผลิตที่ไม่ได้ชั้นคุณภาพออกทำความสะอาดบริเวณที่เปื้อนดิน จัดเรียงในภาชนะบรรจุให้พอดี ควรระวังการสูญเสียน้ำ และควรลดอุณหภูมิลงให้เหลือ 2 – 3 องศาเซลเซียส และขนส่งด้วยรถห้องเย็นหรือใส่กล่องโฟม ที่มีน้ำแข็งหรือเจลไอซ์



การเจริญเติบโต : การเพาะกล้าในช่วงอุณหภูมิต่ำ หากย้ายลงแปลงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเล็กน้อย ต้นกล้าจะแทงช่อดอกในขณะยังเล็ก ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเพาะกล้าในที่มีอุณหภูมิต่ำ  สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการปลูกและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพควรอยู่ในช่วง 15 – 28 องศาเซลเซียส  สำหรับดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรเป็นดินร่วน มีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี  ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเพื่อปรับโครงสร้างดิน  โดยทั่วไปค่าความเป็นกรด – ด่างของดินที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 5.5 – 6.5 ดินมีความชื้นสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไปและควรได้รับแสงอย่างพอเพียง



ประโยชน์ : นิยมนำมาผัด หรือนำมาเป็นเครื่องเคียงกับอาหารประเภทยำ มีวิตามินเบต้าแคโรทีนสูง ช่วยลดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และนอกจากนั้นยังมีวิตามินซี และแคลเซียมมาก ช่วยป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคกระดูกบางช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อ