พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

มะเขือเทศผลเล็ก ชื่อสามัญ : Tomato

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : มะเขือเทศผลเล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum lycopersicum L.

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ชื่อสามัญ : Tomato

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มะเขือเทศผลเล็ก ประกอบด้วย กลุ่มเชอรี่ เจริญเติบโตแบบกึ่งทอดเลื้อยถึงทอดเลื้อย น้ำหนักผลไม่เกิน 15 กรัม มีรูปร่างและสีผลหลากหลาย รสหวาน เมล็ดน้อย นิยมใช้บริโภคคล้ายผลไม้ มีรูปแบบจำหน่ายแบบทั้งช่อหรือปลิดเป็นผล และกลุ่มสีดา เจริญเติบโตแบบไม่ทอดเลื้อย น้ำหนักผล 20-40 กรัม ลักษณะผลกลม รี หรือแพร์ ผลสุกสีชมพูเข้มถึงแดง เนื้อผลหนาและแน่น มีรสเปรี้ยวมากกว่ากลุ่มอื่น นิยมใช้ประกอบอาหารเพื่อให้รสเปรี้ยวและกลิ่นหอม ได้แก่ เช่น ยำ และ ส้มตำ

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : มะเขือเทศ( Tomato ) คือ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อว่ามีความโบราณที่สุด เพราะมีมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยในตอนแรกนั้น มะเขือเทศก็เป็นเพียงแค่วัชพืชที่ขึ้นท่ามกลางไร่มันสำปะหลังและไร่ถั่ว ซึ่งไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ตามธรรมชาติ มนุษย์จึงได้เริ่มนำมาเพาะปลูกเป็นอาหาร โดยชนพื้นเมืองที่นำมะเขือเทศมาปลูกอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก ก็คือชาวพื้นเมืองเอซเท็ค ( Aztecs ) ในประเทศเม็กซิโกนั่นเอง  ซึ่งในช่วงเวลาต่อมาที่กองทัพสเปนได้เข้าไปบุกยึดประเทศเม็กซิโกมาเป็นอาณานิคม ก็ได้มีการนำมะเขือเทศกลับไปปลูกที่ประเทศสเปนด้วย จากนั้นมะเขือเทศจึงค่อยๆ กลายเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย



การเพาะปลูก :



ระยะปลูก        30-40 X 100 เซนติเมตร



วิธีการปลูก      เพาะกล้าในกระบะ เมื่ออายุ 25-30 วัน ย้ายลงแปลงปลูก



การใส่ปุ๋ย         ระยะกล้าใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 14-14-21 อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ หลังปลูก 30 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร

15-15-20 อัตรา 80 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่  



การให้น้ำ         ให้น้ำเช้า-เย็น



อายุเก็บเกี่ยว     70-90 วัน และจะเก็บไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวหมดประมาณ 4-5 เดือนอายุของผล

ที่เก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการปลูก



การเจริญเติบโต : ดินที่เหมาะสมกับการปลูกมะเขือเทศมากที่สุดควรเป็นดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูง และมีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดด่างของดิน (PH) ประมาณ 4.5 – 6.8 หากดินเป็นกรดใช้ปูนขาวปรับสภาพดิน ถ้าดินเป็นกรดเป็น