ชื่อ : ฟักทองญี่ปุ่น
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cucurbita moschata Duchesne
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Japanese pumpkin
ชนิด/ประเภท | ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นเถาเลื้อยตามพื้นดิน ยาว 20 – 30 ฟุต |
ต้น | ลำต้นเเข็ง เป็นเหลี่ยม มีร่องยาว ใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม ขนาดใหญ่ ขอบใบหยักลึก มีขนปกคลุม เนื้อใบหยาบ |
ใบ | ก้านใบและดอกมีขนาดเล็ก |
ผล | ผลมีสีเขียว รูปทรงกลมค่อนข้างแบน เนื้อแน่นแข็ง ฟักทองอ่อนเนื้อสีเหลือง เมื่อแก่เนื้อจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม รสหวานมัน |
เมล็ด | เมล็ดแบนรี สีขาวนวล อายุเก็บเกี่ยวหลังจากย้ายปลูกประมาณ 120 วัน |
การกระจายพันธุ์ : ถิ่นกำเนิดแถบอเมริกากลาง ภาคเหนือของเม็กซิโกและภาคตะวันตกของอเมริกาเหนือ ปลูกกันแพร่หลายในเขตร้อนและเขตแห้งแล้ง
การเพาะปลูก : การเตรียมกล้า เพาะกล้าแบบประณีตในถาดหลุมขนาดใหญ่ ย้ายปลูกเมื่อใบเลี้ยงงอก (อายุ 6 – 8 วัน) โดยไม่ต้องรอใบจริง
การเตรียมดิน โรยปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ต.ร.ม. และขุดดินตากแดด 14 วันเก็บเศษวัชพืชออกให้สะอาด
การปลูกและดูแลรักษา เตรียมดินขึ้นแปลง สูง 25 – 3 0 ซม.กว้าง 3 เมตรขุดหลุมกว้าง 80 และลึก 30 ซม. ห่างกันหลุมละ 100 ซม. ระยะห่างระหว่างแถว 3 เมตร คลุกปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ต้น ปุ๋ย 12–24–12 อัตรา 30 กรัม/ต้น กลับดินให้เข้ากันกลบดินเต็มหลุมรดน้ำในหลุมให้ชุ่มและควรปลูกในเวลาเย็น และอย่าย้ายกล้าเมื่ออายุต้นแก่เกินไป (ไม่เกิน 10 วัน)
การทำค้าง ควรทำในช่วงฤดูฝนเพื่อลดการเกิดโรคจากเชื้อราและป้องกันหนูกัดกินผล โดยการทำค้างสูงจากพื้นดินประมาณ 0.5 – 1 เมตร
การตัดแต่งกิ่ง เมื่อมีการเจริญเติบโตของต้นจนถึงข้อที่ 6 ให้ตัดยอดเพื่อแตกกิ่งแขนงและเก็บไว้เพียง 3-4 กิ่ง คือกิ่งที่ข้อ 3,4,5,6 (ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น) และตัดกิ่งที่ข้อ 1,2 ทิ้งเพราะถ้าไม่ตัดทิ้งกิ่งอื่นถัดไปจะไม่เจริญเติบโต
การตัดแต่งผล ให้เหลือไว้ 1 ลูก/กิ่ง เพื่อให้ได้ผลที่สมบูรณ์และขนาดตามที่ตลาดต้องการ ในการเก็บผลไว้ควรตรวจดูให้ละเอียดว่ามีรอยแผลแมลงเจาะวางไข่ไว้หรือไม่ตั้งแต่ผลเล็กจากนั้นใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มผลไว้เพื่อป้องกันแมลงเจาะวางไข่ กรณีปลูกแบบเลื้อย ควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองผลและห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทองและสีผิวเสีย
การให้น้ำ ให้น้ำตามความเหมาะสม ในช่วงแรกให้รดน้ำโดยการใช้สปริงเกอร์
การให้ปุ๋ย ระยะแรกใส่ปุ๋ย 46-0-0 และ 15-0-0 อัตรา 30-50 กรัม/ต้นและ 20 กรัม/ต้น ตามลำดับ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 40 กรัม /ต้น ครั้งที่ 3 ใส่ปุ๋ย 13-13-21อัตรา 80 กรัม/ต้น
การเก็บเกี่ยว เมื่ออายุ 105-120 วัน หรือผิวมีสีเข้มมันแข็ง ขั้วผลจะเป็นสีน้ำตาลและขนาดเล็กลงใช้มีดหรือกรรไกรตัดขั้ว ควรล้างทำความสะอาดผลและทาปูนแดงที่ขั้วแล้วนำไปผึ่งไว้ในเรือนโรง สำหรับการปลูกฟักทองญี่ปุ่นในฤดูแล้งควรระวังเพลี้ยไฟเข้าทำลายต้นกล้าระยะการเจริญเติบโตระยะแรกและควรดูแลต้นฟักทองในระยะการเจริญเติบโตระยะแรกเป็นพิเศษ
การเจริญเติบโต : เจริญได้ดีในสภาพอากาศอบอุ่น มีความชื้นพอเพียง สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 0 ถึง 2000 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะกล้าอยู่ระหว่าง 21.1 – 35.0 ?C ในขณะที่อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18 – 24 ?C สำหรับดินที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย มีความอุดรมสมบูรณ์ หน้าดินลึกและระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์ : ส่วนที่สามารถรับประทานได้ เช่น ผล ยอดอ่อน ดอก และเนื้อที่อยู่ในเมล็ด เนื้อฟักทองที่ดีต้องแน่นและเหนียว สามารถนำผลมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง ผัด แกงเผ็ด ต้มจิ้มน้ำพริก หรือต้มน้ำตาลคลุกงาผสมเกลือป่นเล็กน้อย รับประทานคล้ายขนมหวานทำฟักทองแกงบวด สังขยาฟักทอง ฟักทองเชื่อม ดอกฟักทองและยอดฟักทองนำมาแกงส้มหรือลวกจิ้มน้ำพริก เมล็ดฟักทองนำมาอบแห้งกินเนื้อข้างใน ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น ฟอสฟอรัส แคลเซียม และมีสารเบต้าแคโรทีน ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง เมล็ดฟักทองช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากโต ป้องกันและรักษาโรคนิ่ว ป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง