พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

ผักเชียงดา ชื่อสามัญ : Gymnema

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : ผักเชียงดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gymnema inodorum (Lour.) Decne.

ชื่อวงศ์ : Apocynaceae

ชื่อสามัญ : Gymnema

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : จัดเป็นไม้เถาเลื้อย มีอายุข้ามปี ความยาวของเถาขึ้นอยู่กับอายุ
ต้น ลำต้น เป็นสีเขียวมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-5 เซนติเมตรทุกส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นจะมีน้ำยางสีขาวคล้ายน้ำนม
ใบ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ รูปรีหรือรูปกลมรี หรือ รูปหอกกว้าง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบโค้งมนหรือเว้าเล็กน้อย แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร ใบกว้าง 9-11 เซนติเมตร ใบยาว 15-19 เซนติเมตร
ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อกระจุกจากซอกใบ ดอกย่อย กลีบเลี้ยงสีเขียว กลีบดอกสีขาวเหลืองอ่อน หรือเหลืองอมส้ม เกสรตัวผู้เป็นกระจุกแน่น
ผล ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาลคล้ำ มีเมล็ด 2-3 เมล็ด ผลแห้ง เป็นฝัก แตกได้

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : ผักเชียงดาเป็นพืชท้องถิ่นพบทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย



 



การเพาะปลูก : วิธีการปลูกผักเชียงดาให้เป็นทรงพุ่ม การจัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มเตี้ยนี้ให้ผลดีในหลายทาง เช่นให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น สะดวกต่อการเก็บเกี่ยว รสชาติดีกว่าเดิม และที่สำคัญเมื่อตรวจปริมาณสาระสำคัญพบว่าสูงกว่าแบบที่ปล่อยให้เลื้อยมาก เทคนิคการทำให้เป็นทรงพุ่มก็ไม่ยากเลยค่ะ เมื่อปลูกต้นกล้าผักเชียงดาลงดินแล้ว เราจะปักไม้ไว้เพื่อให้ต้นพันในช่วงแรก หมั่นเด็ดใบออก ไม่นานก็สามารถนำไม้ค้ำนั้นออกและต้นจะอยู่เป็นพุ่มได้ หลังจากนั้นก็บำรุงรักษาตามปกติ หมั่นเก็บใบทุก ๆ 30 – 45 วัน ก็จะได้ใบผักที่ดีที่สุด



การขยายพันธุ์ : เมล็ด, ปักชำ



การเจริญเติบโต : ผักเชียงดาเป็นพืชท้องถิ่นพบทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ซึ่งเป็นไม้เลื้อยมักจะปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ระบายน้ำดี และปล่อยให้เลื้อยริมรั้วบ้าน พอถึงเวลาฝักแก่และแตกออกก็จะได้เมล็ดตกลงตามพื้นและขยายพันธุ์ไปเองตามธรมชาติ โดยธรรมชาติของผักเชียงดาจะเป็นพืชโตเร็ว ยิ่งดินดียิ่งเลื้อยไปไกลหรือขึ้นต้นไม้สูง หากไม่เก็บตั้งแต่ใบยังอ่อนและปล่อยทิ้งไว้ ใบจะแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มซึ่งจะขมมากขึ้น ต่อมาใบจะเหลืองและร่วงไป



 



ประโยชน์ : ผักพื้นบ้านของภาคเหนือที่นิยมนำมารับประทานกับน้ำพริก โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำพริกมะม่วง หรือบางคนนำมาแกงกับปลาช่อนย่าง ซึ่งนอกจากผักเชียงดาจะนำมาปรุงอาหารได้รสชาติที่อร่อยน่ารับประทานแล้ว และยังมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวานอีกด้วย เนื่องจาก มีสรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี และสามารถนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย จึงทำให้ได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่มาก ส่วนรากและใบของผักเชียงดามี Gymnemic acid ช่วยสกัดกั้นสารน้ำตาลตัวจริงที่เข้ามาสู่ร่างกายได้ และยังสามารถช่วยควบคุมสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานทั้งชนิดที่พึ่งอินซูลินและชนิดไม่พึ่งอินซูลิน