ชื่อ : แค
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania grandiflora (L.) Poir.
ชื่อวงศ์ : Fabaceae
ชื่อสามัญ : Sesban, Vegetable Huming Bird
ชื่ออื่นๆ : แคขาว แคแดง
ต้น | ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 3-5 เมตร มีทรงพุ่ม มีลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมๆ เนื้อไม้อ่อนเปลือกในสีชมพู แตกกิ่งก้านได้มาก เปลือกต้นหนาขรุขระ มีสีน้ำตาล |
ใบ | ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีขนาดเล็ก เรียงเป็นคู่ ใบย่อยมี 30-50 ใบ มีลักษณะทรงเรียวรี ขนานปลายใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีสีเขียว |
ดอก | ดอก สีขาวคล้ายดอกถั่ว เป็นช่อและออกที่ซอกใบ แต่ละช่อมี 2-4 ดอก ยาว 6-10 ซม. ก้านช่อดอกยาว มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆัง ดอกมีรสชาติหวาน มีเกสรสีขาวยาว เกสรมีรสขม |
ผล | ผล เป็นฝักแบน ยาวประมาณ 8-15 ซม. ฝักเมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดเรียงอยู่ตรงกลางแถวเดียว |
เมล็ด | เมล็ด คล้ายเมล็ดถั่ว ขนาดเล็กประมาณ 5 มม. ลักษณะกลมแบน ล้ายเมล็ดถั่ว เปลือกเมล็ดแข็งผิวเรียบ มีสีน้ำตาล |
การกระจายพันธุ์ : เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย มาเลเซียและออสเตรเลีย
การเพาะปลูก : แคเป็นพืชที่เจริญได้ ในดินแทบทุกชนิด ชอบดินร่วนปนทรายจะเจริญได้ดี สามารถขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด นำมาเพาะในถุงเพาะชำ เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน แล้วจึงทำการย้ายต้นกล้า นำมาปลูกลงในแปลงดิน ปลูกระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 2×2 เมตร แคเป็นพืชที่ชอบระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ระยะแรกต้องให้น้ำทุกวัน เมื่อต้นโตแล้ว ให้เว้นการให้น้ำได้ ลดปริมาณการให้น้ำลง ต้องทำการตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
การเจริญเติบโต : สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ดินร่วนปนทรายจะเจริญได้ดี
ประโยชน์ : เปลือก ต้มหรือฝนรับประทาน แก้โรคบิดมีตัว แก้มูกเลือด แก้ท้องเดิน ท้องร่วง คุมธาตุ ภายนอก ใช้ชะล้างบาดแผล ใบ ใบสดสามารถรับประทานทำให้ระบาย ถ้านำมาตำละเอียด พอกแก้ช้ำชอก ดอก รับประทานเป็นผักพื้นบ้าน มีรสชาติออกหวาน ขมเล็กน้อย แก้ไข้หัวลม ผลอ่อน นำมาตำแทนมะละกอได้ ยอดอ่อน ใบอ่อน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ชาวอินเดีย ใช้สูดน้ำที่คั้นที่ได้จากดอกหรือใบแคเข้าจมูกรักษาโรค ริดสีดวงในจมูก และทำให้มีน้ำมูกออกมา แก้ปวดและหนักศีรษะ ลดความร้อน ลดไข้