พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พันธุ์ไม้ และพันธุ์ผัก

แสลงใจ ชื่อสามัญ : Nux vomica, Poison nut, Quaker buttons, Snake wood, Strychnine tree

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : แสลงใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strychnos nux-vomica L.

ชื่อวงศ์ : Loganiaceae

ชื่อสามัญ : Nux vomica, Poison nut, Quaker buttons, Snake wood, Strychnine tree

ชื่ออื่น : กระจี้ กะกลิ้ง ตูมกาแดง แสลงทม แสลงเบื่อ แสงเบือ

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท แสลงใจ ชื่อวิทยาศาสตร์ Strychnos nux-vomica L. จัดอยู่ในวงศ์กันเกรา (LOGANIACEAE หรือ STRYCHNACEAE)
ต้น ต้นแสลงใจ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 30 เมตร บ้างว่าสูงได้ประมาณ 10-13 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทาและมีรูตาตามเปลือก กิ่งก้านเงามัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและการตอน เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่มีความชื้นอยู่ด้วย ในประเทศเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ตามป่าเบญจพรรณหรือป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100-500 เมตร ส่วนในต่างประเทศพบได้ที่อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา ลาว เวียดนาม และมาเลเซีย
ใบ ใบแสลงใจ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรี หรือรูปไข่ ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร หลังใบและท้องใบเรียบ มีเส้นใบตามขวาง 5 เส้น ยาว 3 เส้น ก้านใบสั้นยาวได้ประมาณ 4-6 มิลลิเมตร ออกใบดกและหนาทึบ
ดอก ดอกแสลงใจ ออกดอกเป็นช่อ โดยจะออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ช่อดอกมีลักษณะคล้ายร่ม ดอกย่อยมีขนาดเล็ด ดอกเป็นสีเขียวอ่อน สีขาว หรือสีเทาอมขาว ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกแตกออกเป็น 5 กลีบ (กลีบดอกมี 5 กลีบ) กลีบดอกยาวประมาณ 2.5-4 มิลลิเมตร โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ปลายกลีบดอกแหลม ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 อัน
ผล ผลแสลงใจ ผลเป็นผลสด ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ผลมีขนาดประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มหรือสีส้มแดง ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 3-5 เมล็ด
เมล็ด เมล็ดแสลงใจ เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปกลมแบน คล้ายรูปโล่หรือกระดุม เมล็ดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5-2.5 เซนติเมตร ผิวเมล็ดเป็นสีเทาอมสีเหลือง และมีขนสีน้ำตาลอ่อนหรือสีขาวขึ้นปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ เมล็ดแสงใจในภาษาอังกฤษ จะเรียกว่า Button Seed หรือ Dog Button ส่วนในตำรับยาฝรั่งจะเรียกว่า นุกซ์ โวมิกา (Nux Vomica) ซึ่งหมายถึงเมล็ดแข็งที่ทำให้อาเจียน ส่วนจีนจะเรียกเมล็ดแสงใจว่า "โฮ่งบ๋วยจี้" และ "หม่าเฉียนจื่อ" (จีนกลาง) ส่วนไทยเรียกว่า "เมล็ดแสลงใจ", "เม็ดกาจี๊", "ลูกกะจี้" แต่ในตำรับยาไทยนั้นจะเรียกเมล็ดแก่แห้งว่า "โกฐกะกลิ้ง" หรือ "โกกกักกลิ้ง" ซึ่งในสมัยก่อนนั้นจะใช้เมล็ดในด้านการเบื่อสัตว์ สาร Strychnine ที่อยู่ในเมล็ดอาจจะอยู่ในรูปของผงแป้ง (ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่มีรสขมมาก) หรือในรูปของสารละลายแอลกอฮอล์ (trychnine alkaloid) ส่วนเมล็ดที่ทำมาเป็นยาน้ำสีเหลืองจะเรียกว่า "ทิงเจอร์นักสะวอมมิกา" (Tincture Nux vomica)

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม คาบสมุทรมลายู



การเพาะปลูก :



การเจริญเติบโต : ไม้ป่าเบญจพรรณแล้ง หรือป่าเต็งรัง พบทุกภาคของประเทศไทย เว้นภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-500 เมตร ออกดอก มี.ค.-เม.ย. ติดผล พ.ค.-ธ.ค.



ประโยชน์ : เนื้อไม้อ่อน ตกแต่งง่าย ปลวกไม่ชอบกิน ใช้ทำของเล่นสำหรับเด็ก ด้ามเครื่องมือทางเกษตรและเครื่องแกะสลัก เมล็ดแห้งมีแอลคาลอยด์ strychnine และ brucine มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง มีความเป็นพิษสูง ชาวบ้านใช้ผสมอาหารเป็นยาเบื่อหนู