พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พันธุ์ไม้ และพันธุ์ผัก

บวบเหลี่ยมเฮอร์คิวลิส ชื่อสามัญ : Angled loofah

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : บวบเหลี่ยมเฮอร์คิวลิส

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa acutangula (L.) Roxb.

ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae

ชื่อสามัญ : Angled loofah

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท เป็นไม้เถายาว โตเร็ว มีอายุประมาณ 1 ปี
ต้น ลำต้นเป็นเหลี่ยมสัน ตามข้อมีมือที่ใช้เกาะเกี่ยวเป็นเส้นยาว
ใบ ใบเป็นแบบใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบเป็นรูปเหลี่ยมมีราว 5-7 เหลี่ยม ตามขอบใบมีรอยเว้าตื้นๆ ปลายใบค่อนข้างแหลม ส่วนโคนใบเว้าลึกเข้าด้านในจนดูคล้ายกับรูปหัวใจก้านใบยาวราว 4-9 ซม. และเป็นเหลี่ยมเหมือนกับลำต้น
ดอก ดอกเป็นสีเหลือง ออกดอกตามง่ามใบ ทั้งแบบเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อ โดยมีดอกทั้งตัวเมียและตัวผู้อยู่บนต้นเดียวกัน สำหรับผลเป็นรูปทรงคล้ายกระบอกกลม ยาวราวๆ 20 ซม. ผิวมีเหลี่ยมเป็นเส้นไปตามความยาวของผล นับได้ 10 เหลี่ยมเท่ากันทุกลูก
ผล ผลเรียวเล็กแล้วค่อยๆ กว้างออก ก่อนที่จะค่อยๆ แคบลงไปอีกครั้งจนไปบรรจบกันที่ปลายผลอย่างสวยงาม

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ปัจจุบันมีการปลูกในเขตร้อน หลายประเทศทั่วโลก เป็นผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์และสรรพคุณทางยา หลายอย่าง ใช้ผลอ่อนนำมาประกอบอาหาร เมนูต่างๆได้หลายเมนู



การเพาะปลูก : ระบบรากลึกปานกลาง ควรขุดไถดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน

ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดินโดยเฉพาะดินทรายและดินเหนียวต้องใส่ให้มาก เพื่อปรับสภาพของดินให้ดีขึ้นและ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ย่อยดินและพรวนดิน ให้ละเอียดร่วนโปร่งพร้อมที่จะปลูกได้ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร การปลูกให้หยอดเมล็ดพันธุ์โดยตรงลง ในแปลงหลุมละ 4-5 เมล็ด ฝังให้ลึกลงไปในดินประมาณ 2-4 เซนติเมตร จากนั้นกลบเมล็ดด้วยดินร่วนหรือปุ๋ยคอกหนาประมาณ 1 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เมื่อต้นกล้างอกอายุได้ประมาณ 10-15 วันหรือมีใบจริง

2-4 ใบ ให้ถอนแยกต้นที่ อ่อนแอ หรือต้นที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง ให้เหลือไว้หลุมละ 3 ต้น เมื่อบวบเหลี่ยมเริ่มเลื้อยหรือเมื่ออายุประมาณ 15-20 วัน ควรทำค้างหรือร้านเพื่อให้บวบเลื้อยเกาะขึ้นไป การปลูกแบบปล่อยให้ ต้นเลื้อย ไปตามพื้นดินโดยไม่ทำค้างหรือร้าน จะทำให้ผลบวบมีรูปร่างงอโค้งไม่สวย ไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ การทำค้างให้บวบเหลี่ยม สามารถทำได้ 2 แบบ คือ ปักไม้ค้างยาว 2 – 2 1/2 เมตรทุกหลุม แล้วเอนปลายเข้าหากัน มัดไว้ด้วยกัน แล้วใช้ไม้ค้างพาดขวางประมาณ 2-3 ช่วง ทุกๆ ระยะ 40-50 เซนติเมตร และทำเป็นร้าน โดยใช้ไม้ค้างผูกเป็นร้านสูงประมาณ

1 1/2 – 2 เมตร หรือระยะสูงพอเหมาะที่สะดวกต่อการทำงาน นอกจากนี้ อาจ ใช้ค้าง ธรรมชาติที่มีอยู่แล้ว เช่น ไม้พุ่มเล็กๆ รั้วบ้าน ฯลฯ ซึ่งเหมาะสำหรับการปลูกแบบสวนครัว



 



การขยายพันธุ์ : เมล็ด



 



การเจริญเติบโต : ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด และดินค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย ในดินมีความชื้นสูงพอเหมาะสม่ำเสมอ ควรได้รับ แสงแดด เต็มที่ในระหว่างการปลูก อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล



 



ประโยชน์ : ผลอ่อนนำมาแกงเลียง แกงกับปลาแห้ง และผัดกับไข่ หรือนำมาต้มจิ้มน้ำพริก ใบ รสจืดเย็น ต้มดื่มขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้ระดูมาผิดปกติ ขับเสมหะ ถอนพิษไข้ ม้ามโต แก้ริดสีดวงทวาร ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน ลูก รสหวานเย็น บำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้องขับปัสสาวะ ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ เนื้อในเมล็ด รสมัน ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ขัยนิ่ว รับประทานมากทำให้อาเจียน รับประทานขณะท้องว่างครั้งละ 30-50 เม็ด ติดต่อกัน 2 วัน ขับพยาธิตัวกลม ปริมาณน้อยแก้บิด ขับเสมหะ น้ำมันจากเมล็ด รสมัน ทาแก้โรคผิวหนัง ราก รสจืดเย็น ต้มดื่มแก้บวมน้ำ ระบายท้อ