พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พืชพรรณ ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา ฐานข้อมูลพืชพรรณไม้ภายในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของมูลนิธิชัยพัฒนา

พันธุ์ไม้ และพันธุ์ผัก

กะหล่ำปลีรูปหัวใจ ชื่อสามัญ : Pionted Cabbage

แหล่งที่มาและประวัติพันธุ์

ชื่อ : กะหล่ำปลีรูปหัวใจ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica oleraceae var. capitata

ชื่อวงศ์ : Brassicaceae (Cruciferae)

ชื่อสามัญ : Pionted Cabbage

ลักษณะประจำพันธุ์ทางพฤกษศาสตร์

ชนิด/ประเภท ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชล้มลุก
ราก ราก มีระบบรากแก้ว แทงลึกลงในดิน มีลักษณะกลม มีรากแขนงรากฝอยเล็กๆ ออกรอบบริเวณลำต้น จะมีสีน้ำตาล
ต้น ลำต้น ต้นมีลักษณะเป็นข้อสั้นๆจะมีก้านใบหุ้มโดยรอบๆลำต้น มีสีขาวนวล ลักษณะลำต้นที่เรียกว่า core มีขนาดสั้นมาก
ใบ ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเดี่ยวเรียงตัวห่อ ซ้อนๆ กันหลายชั้น เกาะกันแน่น เป็นรูปโคนคว่ำ หรือหัวใจ ความแน่นของหัวขึ้นอยู่กับการจัดเรียงตัวของใบ ใบหนา กรอบ ใบนอกมีสีเขียว ส่วนใบด้านในมีสีเขียวอ่อนกว่าหรือขาว ออกเรียงเวียนตรงข้อรอบๆ ลำต้น มีลักษณะรูปทรงสามเหลี่ยม คล้ายรูปหัวใจ โคนหัวห่อหุ้มกลมแน่นๆ ปลายหัวเรียวรี มีใบกว้างหนา ขอบใบย่น มีก้านใบสั้นจะหุ้มโดยรอบๆลำต้น มีใบหุ้มซ้อนกันแน่นหลายชั้น ใบด้านในมีสีขาวนวล ใบด้านนอกมีสีเขียวนวล มีเนื้ออวบฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานกรอบ มีกลิ่นเฉพาะตัว
ดอก ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อใหญ่ยาว ช่อดอกอยู่เป็นกระจุก มีลักษณะทรงกลม อยู่เบียดกันแน่น กลีบดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ก้านดอกสั้น อยู่ปลายของลำต้น
ผล ผล มีผลเป็นฝัก มีลักษณะเรียวยาว ปลายฝักแหลม ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เมื่อฝักแก่จัดแตกออกได้

เมล็ด เมล็ด มีเมล็ดเล็กๆเรียงซ้อนกันอยู่ข้างใน มีลักษณะกลมๆ มีขนาดเล็กๆ มีสีดำ

ข้อมูลอื่นๆ

การกระจายพันธุ์ : มีถิ่นกำเนิด แถบเมดิเตอร์เรเนียน ของทวีปยุโรป จนถึงประเทศอังกฤษ



การเพาะปลูก : การเตรียมกล้า ควรเพาะกล้าในถาดหลุม หรือหยอดเมล็ดโดยตรง อายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน หากย้ายกล้าช้าจะมีผลต่อการเข้าปลี การเตรียมดิน ควรไถดินให้ลึกประมาณ 10 – 15 ซม. ตากดินทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เก็บเศษวัชพืชออกให้หมด



การปลูก กะหล่ำปลีรูปหัวใจ เป็นพืชที่ชอบความเย็น สามารถเจริญได้ดีในดินทุกชนิด เป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย จะเติบโตได้ดี การปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ โดยการเพาะต้นกล้าก่อน เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 20-25 วัน แล้วจึงทำการย้ายปลูกในแปลงที่เตรียมไว้ ให้มีระยะห่างประมาณ 40×40 เซนติเมตร เตรียมแปลงกว้าง 1 – 1.2 เมตร สำหรับฤดูฝนควรยกแปลงให้สูงกว่าปกติ 30 – 50 เซนติเมตร เพื่อการระบายน้ำ ควรรองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ย 12 – 24 – 12 อัตรา 30 กรัม/ ตร.ม. ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก อัตรา 2 – 4  ตัน/ไร่ (2 กก./ตร.ม.) ข้อควรระวัง หากปลูกในฤดูร้อน

ควรให้น้ำสม่ำเสมอ หากขาดน้ำจะเข้า ปลีหลวม



การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูกาลปลูก ถ้าขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และมีผลต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิต



การให้ปุ๋ย ประมาณ 5 – 7 วัน ควรมีการปลูกซ่อมกล้าที่ตาย หลังย้ายปลูก 7 – 10 วัน ใส่ปุ๋ย 15 – 15 – 15 หรือ 46 – 0 – 0  อัตรา 20 – 25 กรัม/ตร.ม. หลังจากนั้น 7 – 10 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ส่วนการใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3

ช่วงการเข้าปลี ใช้ปุ๋ย 13 – 13 – 21 และควรฉีดพ่นสารเคมีป้องกันศัตรูพืช ป้องกันหนอนเจาะกะหล่ำ และแมลงศัตรูอื่นๆ



การเจริญเติบโต : กะหล่ำปลีรูปหัวใจเป็นพืชเขตหนาวเจริญได้ดีในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 15 – 20 องศาเซลเซียสหรือเฉลี่ยไม่เกิน 24 องศาเซลเซียส หากปลูกในสภาพอุณหภูมิต่ำกว่า  10 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้ทนต่ออุณหภูมิสูง สำหรับดินที่เหมาะสมต่อการปลูกควรโปร่ง ร่วนซุย การระบายน้ำ อากาศดี และมีค่าความเป็นกรด – ด่างอยู่ในช่วง 6.0 – 6.5  ควรให้อย่างพอเพียง เนื่องจากกะหล่ำปลีเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในดินมาก หากความชื้นในดินต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ผลผลิตลดลงกว่าปกติ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์  ระยะที่กะหล่ำปลีต้องการน้ำมากที่สุด ได้แก่ ระยะการเจริญเติบโตเต็มที่ และระยะเริ่มห่อปลี



ประโยชน์ : เป็นพืชที่มีเยื่อใยสูง อุดมไปด้วยวิตามินซี ค่อนข้างสูง ช่วยป้องกัน โรคเลือดออก ตามไรฟัน มีสารซัลเฟอร์ (Sulfer) ช่วยกระตุ้น การทำงาน ของลำไส้ใหญ่ และต้านสารก่อมะเร็ง เข้าสู่ร่างกาย การกินกะหล่ำปลีบ่อยๆ จะช่วยลดโอกาสเป็น มะเร็งลำไส้ มะเร็งในช่องท้อง ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดปวด แก้นมคัดแม่หลังคลอด ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยขับถ่าย แก้ท้องผูก แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยขับสารพิษ ช่วยบำรุงไต ช่วยลดอาการปวดศรีษะ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับได้ดี ข้อพึงระวัง กะหล่ำปลีมีสาร ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า goitrogen เล็กน้อย ถ้าสารนี้มีมาก จะไปขัดขวาง การทำงานของต่อมไทรอยต์ ทำให้นำไอโอดีน ในเลือดไปใช้ ได้น้อย ดังนั้น ไม่ควรกินกะหล่ำปลีสดๆ วันละ 1-2 กก. แต่ถ้าสุกแล้วสาร goitrogen จะหายไป นิยมรับประทานสด กินกับลาบ ส้มตำ อาหารประเภทยำ ใส่ในสลัด นำมาผัด หรือต้ม เป็นแกงจืด ทำกะหล่ำปลีดอง และ แต่งจานอาหาร